โพสต์เมื่อ 1 ปี, 8 เดือน ago | มีผู้อ่านทั้งหมด 597 คน
ทั้งนี้การที่จะเริ่มตั้งค่าได้นั้น เราต้องทำการสร้าง Droplets ใน Digital Ocean ขึ้นมาก่อน ซึ่งหากยังไม่ได้ทำการสร้างขึ้นมาสามารถเข้าไปลองทำตามได้ในลิงค์บทความนี้ครับ การสร้าง Droplets ใน Digital Ocean สำหรับมือใหม่ ทั้งนี้ในบทความนี้จะเป็นการสร้าง User ใหม่นะครับ ซึ่งการทำงานจริงๆ แนะนำไม่ให้ใช้การตั้งค่าจากใน User ที่เป็น root เพราะอาจจะไม่ปลอดภัยในภายหลังหากใช้งานไประยะยาว ถึงแม้ว่าจะมีการกำหนด Passwords ไว้ยากแค่ไหนก็ตาม..
ขั้นตอนแรก หลังจากการสร้าง Droplets ขึ้นมาแล้วเราจะได้ IP สำหรับเข้าเครื่อง Sever ของเราครับ โดยเราสามารถเข้าเครื่องของเราได้โดยการโหลดโปรแกรม PuTTY เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อ หรืออาจจะใช้งานผ่าน Consloe ใน Digital Ocean โดยตรงก็ทำได้เช่นกัน แต่ไม่แน่นำเพราะมันอาจจะค่อนข้างช้า ไม่ถูกใจวัยรุ่น โดยเมื่อเปิด PuTTY ขึ้นมาเราก็ใส่ IP สำหรับเข้าเครื่อง Sever ของเราลงไป หรือหากใช้ MacOS ตรงนี้สามารถใช้งานผ่าน Terminal ได้เลย
ภาพตัวอย่างหน้าตา PuTTY
ขั้นตอนสอง สร้าง User ใหม่สำหรับใช้งาน ซึ่งในอนาคตเราจะเข้าสู่ระบบเครื่อง Sever ของเราใน Account นี้เป็นส่วนใหญ่ครับ ทั้งนี้ก่อนจะเข้ามาต้องพิมพ์
ssh [email protected]ตามด้วย IP ของ Server
จากนั้นระบบของ Ubuntu จะให้เราใส่ Passwords ที่เราตั้งค่าไว้ครับ. เมื่อเข้าสู่ระบบสำเร็จให้เราใช้คำสั่ง
adduser needhobby
จากนั้นระบบของ Ubuntu จะขึ้นคำถามประมาณ 3-4 ข้อ และให้เราใส่ Passwords ของ Accounts นี้
ขั้นตอนสาม ตอนนี้เรามีผู้ใช้ในระบบแล้ว แต่ผู้ใช้ใหม่ที่เราทำการเพิ่มเข้ามานั่นอาจจะยังไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงส่วนต่างๆในระบบ ซึ่งเราสามารถเข้าระบบในสถานะ root ก่อนเพื่อเพิ่มสิทธิ์ได้ โดยสามารถพิมพ์คำสั่งดังนี้
ีusermod -aG sudo needhobby
ในคราวหลังที่เราเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ใช้ของเรา เราก็จะสามารถพิมพ์ sudo เพื่อใช้สิทธิ์ได้เหมือนกับ user root เลยครับ
ขั้นตอนสี่ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ ในเรื่องของความปลอดภัย โดยแต่เดิมนั้นเครื่อง Server ที่เราทำการตั้งค่าเสร็จจะยังไม่มีการตั้งค่า Firewall ใดๆทั้งสิ้น ให้เราเริ่มเช็ค UFW ก่อนว่าตอนนี้มีเปิดอะไรให้สามารถใช้งานได้บ้าง โดยการพิมพ์คำสั่ง
ufw app list
ผลที่ได้จะออกมาแบบนี้
Available applications:
OpenSSH
และตามด้วยพิมพ์
ufw allow OpenSSH
ufw enable
เมื่อทำตามขั้นตอนเสร็จเรียบร้อยแล้วให้พิมพ์
ufw status
ผลที่ได้จะออกมาแบบนี้
Status: active
To Action From
-- ------ ----
OpenSSH ALLOW Anywhere
OpenSSH (v6) ALLOW Anywhere (v6)
เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ. และในการเข้าสู่ระบบครั้งถัดไปในเครื่อง Server เราสามารถพิมพ์
ssh [email protected]_server_ip
เพื่อเริ่มใช้งานได้เลย
ส่วนบทความหน้าเราจะมาต่อกันถึงเรื่องของการนำเอาสร้าง Project Django และอัพขึ้นไปบน Server เพื่อเริ่มใช้งาน
source: ทะเลดิจิตอล